วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 11


อาจารย์อภิชาติ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ใจดี เป็นกันเอง มีความตั้งใจในการสอนดีเยี่ยม และปีใหม่นี้ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆนะค่ะ

ใบงานที่ 10

นางอารมย์ นวลศรี เกิดวันที่ 14 มกราคม 2513 เป็นบุตรของนายช่วย –นางกิ้ม หมุนขำ เกิด ณ บ้านเลขที่ 108 หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านพร้าว อ. ป่าพะยอม จ. พัทลุง
ประวัติการศึกษา
ระดับชั้น ป. 1-6 ศึกษาในโรงเรียนบ้านตลิ่งชัน อ. ป่าพะยอม จ.พัทลุง
ระดับชั้น ม. 1-3 ศึกษาในโรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม อ. ป่าพะยอม จ.พัทลุง
สายวิทย์ – คณิต
ระดับชั้น ม.4-6 ศึกษาในโรงเรียนสตรีพัทลุง อ. เมือง จ.พัทลุงสาย วิทย์ – คณิต
ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยครูยะลา เอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป
ประวัติการทำงาน
บรรจุรับราชการเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี
ปี 2537 - กุมภาพันธ์ 2552 รับผิดชอบเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ปี 2546 - กุมภาพันธ์ 2552 รับผิดชอบเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
หัวหน้างานวิชาการโรงเรียน
กุมภาพันธ์ 2552 - ปัจจุบัน ทำหน้าที่รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
โรงเรียน

ใบงานที่ 9

คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพในยุคปัจจุบัน
1. มีภาวะผู้นำ ซึ่งจะต้องประกอบด้วย มีความรู้ –ความเข้าใจ รู้จักตัดสินใจ รู้จักและสามารถนำเอาวิธีการและกลยุทธ์ในการแก้ปัญหามาใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ได้และเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำที่กำหนดทิศทางขององค์กรและเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี มีการสร้างพลังงานในการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของเพื่อนร่วมงานตลอดจนเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. จะต้องมีคุณลักษณะทางวิชาชีพ
ผู้บริหารมืออาชีพจะต้อง มีความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สามารถชักนำหรือสร้างแรงจูงใจให้ผู้ร่วมงานเกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานทางการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมายทางการศึกษา มีการวางแผนการทำงาน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ บริหารงานโดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและรู้จักแสวงหาความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
3. จะต้องมีคุณลักษณะส่วนบุคคล
ผู้บริหารมืออาชีพจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของบุคลากรในสถานศึกษา มีบุคลิกภาพที่ดี มีปฏิภาณไหวพริบดี มีการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้ดี มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความรับผิดชอบสูง มีใจเปิดกว้างพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีความสามารถในการสื่อสาร กล้าในการพูดการปฏิบัติ มีความตื่นตัวอยู่เสมอ เป็นนักพัฒนาและนักบริการสังคม มีความรักในสถาบันของชาติ และอนุรักษ์ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. มีความทันสมัยในเรื่องเทคโนโลยีมีการพัฒนาระบบงานและนวัตกรรมใหม่ รู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ รู้จักสร้างองค์กรใหม่เพื่อพัฒนาองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
5. จะต้องมีภูมิ ( ภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิฐาน )
- ภูมิรู้ ผู้บริหารมืออาชีพจะต้องรู้ลึก รู้จริง รู้ซึ้ง มีทักษะ วิสัยทัศน์ มีหลักการบริหารจัดการที่ดี มีความสามารพิเศษรอบด้าน มีการตัดสินใจที่ดีเยี่ยม เมื่อผู้บริหารมีความรู้นำหน้าสิ่งที่ตามมาคือความสำเร็จ
- ภูมิธรรม ผู้บริหารมืออาชีพจะต้องมีคุณธรรมประจำใจอย่างน้อย 1 ข้อ เพื่อ
ไว้สำหรับ การครองตน ครองคน และครองงาน
- ภูมิฐาน ผู้บริหารมืออาชีพจะต้องมี มาดต้องตา วาจาต้องใจ ภายในยอด
เยี่ยมเปี่ยมใจก่อนจาก
- มาดต้องตา ซึ่งหมายความว่า บุคลิกดี ในความเป็นนักบริหารจะต้อง
แต่งกายดูดี ถูกกาลเทศะใครๆเห็นจะต้องประทับใจ
- วาจาต้องใจ ซึ่งหมายความว่า การพูดจา สุภาพ อ่อนโยน ไพเราะน่า
ฟัง
- ภายในยอดเยี่ยม ซึ่งหมายความว่า มีความจริงใจ
- เปี่ยมใจก่อนจาก ซึ่งหมายความว่า หลังจากการได้พบปะ พูดคุย
สนทนาแล้วก่อให้เกิดความประทับใจ
6. รู้จักยืดหยุ่น ไม่ยึดกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด มีการยืดหยุ่นตามสถานการณ์
7. ใช้หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม คือให้ทุกคนร่วมแรง ร่วมจิต ร่วมคิด ร่วมพิชิต
ปัญหา และร่วมพัฒนา
ร่วมแรง หมายถึง การที่ทุกคนร่วมปฏิบัติงานที่ตนได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
ร่วมจิต หมายถึง ความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียว
ร่วมคิด หมายถึง การที่ทุกคนพยายามใช้ความรู้ ความสามารถของตนที่มีอยู่ให้
เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของส่วนรวมให้มากที่สุด
เท่าที่จะทำได้
ร่วมพิชิตปัญหา หมายถึง การที่ทุกคนพยายามช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาและลงมือ
แก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง
ร่วมพัฒนา หมายถึง การที่ทุกคนพยายามพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง
ให้ดียิ่งขึ้นและพยายามพัฒนาสมาชิกภายในกลุ่มให้กลุ่มมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ใบงานที่ 8

1.ความหมายของสถิติ
(1) สถิติ หมายถึง การบันทึกตัวเลขเพื่อแสดงให้เห็นข้อเท็จจริงในเชิงเปรียบเทียบ(2) สถิติ หมายถึง ตัวเลขหรือข้อมูลซึ่งแทนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เราสนใจ(3) สถิติ หมายถึง หลักฐานที่รวบรวมเอาไว้เป็นตัวเลขสำหรับเปรียบเทียบ(4) สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุป
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใดค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายมัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมีความหมายต่างกัน กล่าวคือ ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯกลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
4.ข้อมูลระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก เช่น เพศ อาชีพ ศาสนา ผิวสี ฯลฯ ไม่สามารถนำมาจัดลำดับ หรือนำมาคำนวณได้-ข้อมูลระดับอันดับ (Ordinal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ แล้วยังสามารถบอกอันดับที่ของความแตกต่างได้ แต่ไม่สามารถบอกระยะห่างของอันดับที่แน่นนอนได้ หรือไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าอันดับที่จัดนั้นมีความแตกต่างกันของระยะห่างเท่าใด เช่น อันดับที่ของการสอบของนักศึกษา อันดับที่ของผู้เข้าประกวดนางสาวไทย ฯลฯ-ข้อมูลระดับช่วงชั้น,อันตรภาค (Interval Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีช่วงห่าง หรือระยะห่างเท่าๆ กัน สามารถวัดค่าได้แต่เป็นข้อมูลที่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ GPA คะแนน I.Q. ฯลฯ-ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีมาตราวัดหรือระดับการวัดที่สูงที่สุด คือนอกจากสามารถแบ่งกลุ่มได้ จัดอันดับได้ มีช่วงห่างของข้อมูลเท่าๆกันแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่มีศูนย์แท้เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง รายได้ จำนวนต่างๆ ฯลฯ
5.ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด
6. สมมุติฐาน หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ หรือตอบปัญหาต่าง ๆ โดยอาศัย ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ฯลฯ เป็นการเสนอคำตอบชั่วคราวของปัญหาที่ยังไม่ได้ทำการตรวจสอบ โดยอาศัยข้อมูลจากการไปตรวจสอบเอกสาร หรือเป็นการเดาอย่างมีเหตุผลซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไปประเภทของสมมุติฐาน ในวงการวิจัยนั้น สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภทคือ1. สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ2. สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน
7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้ F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไปT-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป

ใบงานที่ 7

1.การใส่ปฏิทิน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
เปิด google พิมพ์คำว่า code ปฏิทิน กด enter เปิดเวปที่เกี่ยวข้อง เพื่อ copy code เมื่อทำการ copy เสร็จแล้วให้เปิดบล็อกของตนเอง แล้วเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget จากนั้น คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน
2.การใส่นาฬิกา มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
เปิด google พิมพ์คำว่า code นาฬิกา กด enter เปิดเวปที่เกี่ยวข้อง เพื่อ copy code เมื่อทำการ copy เสร็จแล้วให้เปิดบล็อกของตนเอง แล้วเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget จากนั้น คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน
3.การทำสไลด์ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ให้เข้าไปใน www.slide.com จากนั้น ทำการสมัครสมาชิกให้เรียบร้อย
จากนั้น เข้าสู่ระบบ โดยการใส่ username และ password ที่ได้สมัครไปข้างต้น หลังจากเข้าสู่ระบบเรียบร้อยให้ คลิ๊กตรง สร้างการแสดงภาพสไลด์ จากนั้นไปที browse เพื่อเพิ่มรูปภาพที่ต้องการ เมื่อทำการ upload รูปเสร็จ ก็ไปในส่วน ดัดแปลงแบบของคุณ ทำการเลือกรูปแบบ หลากหลาย ขนาด เอ๊ฟเฟกต่างๆ ตามใจชอบ เมื่อเลือกได้ตามที่ต้องการ ให้บันทึก เพื่อรับรหัส code จากนั้น copy code ที่ได้ไปวางไว้ในส่วนของบทความใหม่ หรือใน Gadget ก็ได้. เสร็จแล้ว คลิ๊ก บันทึก เพื่อยืนยัน
4. การปรับแต่งสีใน blog มีขั้นตอนดังนี้
เปิด blog ของตัวเอง เข้าไปในส่วนของ รูปแบบ จากนั้น คลิ๊ก แบบอักษรและสี สามารถเลือกปรับแต่งสี ในส่วนต่างๆของหน้า blog เมื่อเลือกเสร็จให้คลิ๊ก บันทึกการเปลี่ยนแปลง
เพื่อยืนยัน
5. การใส่เพลง มีขั้นตอนดังนี้
ให้เข้าไปใน http://happyvampires.gmember.com/home.php?1402
จากนั้น คลิ๊กเลือกเพลงที่ต้องการ copy embed เพื่อนำ code ที่ได้ไปวางไว้ในบล็อกตัวเอง โดยอาจจะวางในส่วนของบทความใหม่ ก้อได้

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 6


Google
ปัจจุบันการใช้งาน Internet จะปรากฏ Web Site ให้เราสามารถเยี่ยมชมได้มากมายหลายประเภท และได้มีการบรรจุข้อมูลข่าวสารอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในระบบ Internet1 เราอาจใช้อุปกรณ์ Tools ที่เรียกว่า ตัวค้นหา (Search Engire) โดยตัวค้นหา (Search Engire) นี้จะถูกบรรจุอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ เช่น www.google.com ,www.yahoo.com, www.lycos.com ในเอกสารนี้จะแนะนำถึงการใช้งานค้นหา (Search Engire) ของ www.google.com ซึ่งจำเป็นตัวค้นหา (Search Engire) ที่นิยมใช้มากสุดและมีฐานข้อมูล (data base) ของ Web Site ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีรูปแบบที่มีคำอธิบายการใช้งานเป็นภาษาไทยที่ Web Site www.google.co.th
ซอฟต์แวร์เดสก์ทอป
ซอฟต์แวร์ของกูเกิล จะเป็นซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดใช้งานฟรี และทำงานผ่านระบบของกูเกิล
กูเกิล ทอล์ก
ทอล์ก (Google Talk) ซอฟต์แวร์เมสเซนเจอร์และวีโอไอพี
กูเกิล เอิร์ธ
เอิร์ธ (Google Earth) ซอฟต์แวร์ดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ
ปีกาซา
ปีกาซา (Picasa) ซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานคู่กับเว็บไซต์ปีกาซา
กูเกิล แพ็ก
แพ็ก (Google Pack) เป็นชุดซอฟต์แวร์พร้อมดาวน์โหลด ประกอบด้วย โปรแกรมของกูเกิลเองได้แก่ เดสก์ท็อป ปีกาซา ทูลบาร์ โฟโต้สกรีนเซฟเวอร์ เอิร์ธ ทอร์ก วิดีโอเพลย์เยอร์ และโปรแกรมอื่นรวมถึง ไฟร์ฟอกซ์ สตาร์ออฟฟิศ อะโดบี รีดเดอร์ สไกป์
กูเกิล โครม
โครม (Google Chrome) ซอฟต์แวร์เบราว์เซอร์
สเก็ตช์อัป
สเก็ตช์อัป (SketchUp) ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสเก็ตช์ และภาพ 3 มิติ
กูเกิล แมพ
แมพ (Google Map) ซอฟแวร์สำหรับค้นหาแผนที่บนโลก

ประโยชน์ของ Search Engine
1. ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้สะดวกรวดเร็ว และถูกต้อง
2. ค้นหาข้อมูลแบบเจาะลึกได้ เช่น หนัง รูป หนังสือ เป็นต้น
3. รองรับการค้นหาได้หลายภาษา
Search Engineที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่
http://www.sanook.com/
http://www.google.co.th/
http://www.google.com
http://www.yahoo.com/
http://www.msn.com/
http://www.live.com
http://www.baidu.com
http://www.ask.com
http://th.wikipedia.org/wiki/Google#.E0.B8.AD.E0.B9.89.E0.B8.B2.E0.B8.87.E0.B8.AD.E0.B8.B4.E0.B8.87

ใบงานที่ 4


การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
http://info.pattaya.go.th/km/DocLib1
ขั้นตอนการจัดการความรู้
1. ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมในการจัดการความรู้ (Culture Change)
2. สื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Communication)
3. กระบวนการและเครื่องมือในการจัดการความรู้ (Process and Tools)
4. เรียนรู้ (Learning) เพื่อสร้างความรู้ต่อยอด ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย สำหรับข้อเสนอแนะในครั้งนี้ เป็นการเรียนรู้โดยการจัดชุมชนนักปฏิบัติ (CoP)
5. การวัดผลการจัดการความรู้ (Meausurement)
6. การยอมรับและให้รางวัล (Recognition and Rewards)
http://km.sadet.ac.th/blog/borai/14
แหล่งข้อมูล คือ สถานที่ที่สามารถ ค้นคว้า สืบค้น เรียนรู้ ข้อมูลต่างๆแต่ละประเภทตามที่เราต้องการและอยู่ในรูปลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป ตามที่แหล่งข้อมูลนั้นๆจะนำเสนออกมายิ่งในปัจจุบันจะมีรูปแบบในการนำเสนอ ที่หลากหลายมาก จนเราตามไม่ทันและมีข้อมูลมากมายมหาศาล ให้เราได้เรียนรู้ สืบค้น ค้นคว้า มาใช้ในการเรียนและงานต่างๆมากมาย
ตัวอย่างแหล่งข้อมูล ที่มีในปัจจุบัน
1. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2. ซีดี วีซีดี ดีวีดี วีดีโอ ภาพยนต์
3. สถานที่ต่างๆ ห้องสมุด โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว
4. เทคโนโลยีต่างๆ ทีวี วิทยุ ระบบอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม
http://www.ketkwanchai.info/ebook2/f6.htm
เครือข่ายอาจเป็นเครือข่ายแบบผสมผสานระหว่างสมาชิกที่แตกต่างกันในสถานภาพ เช่น เป็นผู้นำชุมชน ข้าราชการ นักธุรกิจ นักวิชาการ แต่เมื่อทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันก็สามารถเป็นเครือข่ายได้ อีกแบบหนึ่ง คือ เครือข่ายขององค์กรหรือคนที่มีสถานภาพเดียวกัน อาชีพเดียวกัน ระดับเดียวกัน เช่น เกษตรกร นักวิจัย องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิจัย เป็นต้น
สมาชิกเครือข่ายมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรี ให้เกียรติกัน นับถือกัน ไม่ครอบงำ ไม่เอาเปรียบ ไม่แข่งขัน แต่ร่วมมือและเกื้อกูลกัน เครือข่ายก็กลายเป็นกลไกทางสังคมอันทรงพลัง
http://phongphit.com/index.php?option=com_content&task=view&id=204&Itemid=62
สารสนเทศ (Information) ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
1. ให้ความรู้
2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
4. สามารถประเมินค่าได้
http://tsl.tsu.ac.th/file.php/1/courseware/aa_2/lesson02/lesson2-1.htm

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปองค์ความรู้ สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2552

นางอารมณ์ นวลศรี รหัส 52467010467

สรุปการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ สัปดาห์ที่ 3
เรื่อง ความรู้และการจัดการความรู้เชิงนวัตกรรม
ความรู้
สารสนเทศ เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการและการจัดการข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับ สารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
เชาว์ปัญญา (Intelligent) ความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้ การปรับตัวต่อปัญหาอย่างเหมาะสมและความสามารถในอันที่จะทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีจุดมุ่งหมายและมีคุณค่าทางสังคม สามารถคิดอย่างมีเหตุผลสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
จากข้อมูลความรู้ มีการประมวลผล เป็นสารสนเทศ ขัดเกลานำไปสู่ความรู้ มีการบูรณาการปรับแต่งเพื่อจดจำเป็นความเฉลียวฉลาด
รูปแบบของความรู้ มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) เป็นความรู้เชิงเอกสาร
กฎระเบียบ วิธีปฏิบัติ สื่อต่างๆ และความรู้อยู่ในตน (Tacit knowledge ) เป็นความคิด พรสวรรค์ ทักษะประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดจากการปฏิบัติ ดังเช่นโมเดลปลาทู KS เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ KM
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
2.1 Capture การจัดการความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
2.2 Analysis วิเคราะห์ความรู้สึกที่จับได้
2.3 Validation การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้
2.4 Modelling การสังเคราะห์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
การสร้างความรู้ ทฤษฎีการสร้างความรู้มีรากฐานมาจากทฤษฎีการสร้างเชาว์ปัญญาของเพียเจต์ ( Piajet) และ
ไวก็อทสกี้ (Vygotsky) ซึ่งอธิบายว่า โครงสร้างทางสติปัญญา (Scheme) ของบุคคลมีการพัฒนาผ่านทางกระบวนการดูดซับหรือซึมซับ ( assimilation) และกระบวนการปรับโครงสร้างทางสติปัญญา ( accommodation) เพื่อให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุล ( equilibrium) ซึ่งเพียเจต์เชื่อว่าทุกคลจะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นจากการมีปฏิสัมพันธ์และ ประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ส่วนไวก็อทสกี้ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม สังคม และภาษามากขึ้น


การเชื่อมโยง KM สู่วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ ของ Change Management Process (KM Process) ซึ่งมีปัจจัยในการสนับสนุนการเชื่อมโยง เช่น การเรียนรู้ กระบวนการและเครื่องมือ การวัดผล การสื่อสาร การยกย่องชมเชย การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป้าหมายคือพันธกิจและวิสัยทัศน์
องค์การที่มุ่งสู่ยุทธศาสตร์ (Strateg of cused Oganization) มีส่วนประกอบดังนี้ การบริหารกระบวนการ การบริหารลูกค้า การวางระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ การจัดการองค์ความรู้ ก็หมายถึงการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการใด ๆโดยใช้ ทฤษฏี เทคนิค หรือวิธีการใด ก็ได้อาทิ BRAIN STORMING คือการระดมสมอง หรือ การวิเคราะห์สภาพโดยใช้
หลักการ S.W.O.T. หรือการทำแผนภูมิก้างปลาตามระบบ Q.C.หรือ PRIORITY การเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาจนงานนั้นสำเร็จ เสร็จสิ้นโครงการแล้วนำมาเขียนเป็นรายงาน ซึ่งจะเป็นต้นแบบ หรือ PATTERN การดำเนินกิจกรรมหรือโครงการนั้น ๆ

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความหมายของการจัดการ (Defining management)
การจัดการ (Management) หมายถึง ขบวนการที่ทําให้งานกิจกรรมต่างๆสําเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลด้วยคนและทรัพยากรขององค์การ (Robbins and DeCenzo, 2004; Certo, 2003) ซึ่งตามความหมายนี้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ได้แก่ ขบวนการ (process) ประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness) ขบวนการ (process) ในความหมายของการจัดการนี้หมายถึงหน้าที่ต่างๆด้านการจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การโน้มนําองค์การ และการควบคุม ซึ่งจะได้อธิบายละเอียดต่อไปในหัวข้อต่อไปเกี่ยวกับ หน้าที่และขบวนการจัดกาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องน้ำ

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Hello Test

สวัสดีค่ะ