นางอารมณ์ นวลศรี รหัส 52467010467
สรุปการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ สัปดาห์ที่ 3
เรื่อง ความรู้และการจัดการความรู้เชิงนวัตกรรม
ความรู้
สารสนเทศ เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการและการจัดการข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับ สารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
เชาว์ปัญญา (Intelligent) ความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้ การปรับตัวต่อปัญหาอย่างเหมาะสมและความสามารถในอันที่จะทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีจุดมุ่งหมายและมีคุณค่าทางสังคม สามารถคิดอย่างมีเหตุผลสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
จากข้อมูลความรู้ มีการประมวลผล เป็นสารสนเทศ ขัดเกลานำไปสู่ความรู้ มีการบูรณาการปรับแต่งเพื่อจดจำเป็นความเฉลียวฉลาด
รูปแบบของความรู้ มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) เป็นความรู้เชิงเอกสาร
กฎระเบียบ วิธีปฏิบัติ สื่อต่างๆ และความรู้อยู่ในตน (Tacit knowledge ) เป็นความคิด พรสวรรค์ ทักษะประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดจากการปฏิบัติ ดังเช่นโมเดลปลาทู KS เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ KM
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
2.1 Capture การจัดการความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
2.2 Analysis วิเคราะห์ความรู้สึกที่จับได้
2.3 Validation การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้
2.4 Modelling การสังเคราะห์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
การสร้างความรู้ ทฤษฎีการสร้างความรู้มีรากฐานมาจากทฤษฎีการสร้างเชาว์ปัญญาของเพียเจต์ ( Piajet) และ
ไวก็อทสกี้ (Vygotsky) ซึ่งอธิบายว่า โครงสร้างทางสติปัญญา (Scheme) ของบุคคลมีการพัฒนาผ่านทางกระบวนการดูดซับหรือซึมซับ ( assimilation) และกระบวนการปรับโครงสร้างทางสติปัญญา ( accommodation) เพื่อให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุล ( equilibrium) ซึ่งเพียเจต์เชื่อว่าทุกคลจะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นจากการมีปฏิสัมพันธ์และ ประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ส่วนไวก็อทสกี้ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม สังคม และภาษามากขึ้น
การเชื่อมโยง KM สู่วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ ของ Change Management Process (KM Process) ซึ่งมีปัจจัยในการสนับสนุนการเชื่อมโยง เช่น การเรียนรู้ กระบวนการและเครื่องมือ การวัดผล การสื่อสาร การยกย่องชมเชย การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป้าหมายคือพันธกิจและวิสัยทัศน์
องค์การที่มุ่งสู่ยุทธศาสตร์ (Strateg of cused Oganization) มีส่วนประกอบดังนี้ การบริหารกระบวนการ การบริหารลูกค้า การวางระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ การจัดการองค์ความรู้ ก็หมายถึงการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการใด ๆโดยใช้ ทฤษฏี เทคนิค หรือวิธีการใด ก็ได้อาทิ BRAIN STORMING คือการระดมสมอง หรือ การวิเคราะห์สภาพโดยใช้
หลักการ S.W.O.T. หรือการทำแผนภูมิก้างปลาตามระบบ Q.C.หรือ PRIORITY การเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาจนงานนั้นสำเร็จ เสร็จสิ้นโครงการแล้วนำมาเขียนเป็นรายงาน ซึ่งจะเป็นต้นแบบ หรือ PATTERN การดำเนินกิจกรรมหรือโครงการนั้น ๆ
วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น