วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 3 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา(งานกลุ่ม)

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
การพัฒนาหลักสูตร
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
มีนักการศึกษาให้ความหมายของคำว่า “ การพัฒนาหลักสูตร ” ไว้ดังนี้
สงัด อุทรานันท์ ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนหลักสูตรว่า “ การพัฒนา ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Development” มีความหมายอยู่ ๒ ลักษณะ คือ
• การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น
• การทำให้เกิดขึ้น
ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน ๒ ลักษณะ คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย
ทาบา (Taba) ได้กล่าวไว้ว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร ”
กู๊ด (Good) ได้ให้ความเห็นว่า “ การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ ๒ ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ ”
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย ”
จากความหมายของการพัฒนาหลักสูตรที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้สามารถอธิบาย สรุปความหมายของการพัฒนาหลักสูตรได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) หมายถึง การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของบุคคล และสภาพสังคม

สาเหตุที่ทำให้มีการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาถึงข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ เพื่อให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นมานั้น สมบูรณ์ สามารถสนองความต้องการของบุคคล และสังคม พื้นฐานด้านต่างๆ ที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องนำมาพิจารณานั้นมีหลายประการ ซึ่งมีนักการศึกษาได้ให้ความคิดเห็นว่าพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรด้านต่างๆ ที่ควรนำมาพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตร มี ๕ ด้าน ดังนี้
๑. พื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา
๒. พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
๓. พื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
๔. พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
๕. พื้นฐานทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยี

กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
ทาบา (Taba) ได้กล่าวถึง กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ตามความเชื่อที่ว่าผู้เรียนมีพื้นฐานแตกต่างกัน โดยกำหนดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ ๗ ขั้นตอน ดังนี้
๑. วินิจฉัยความต้องการ : สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม และผู้เรียน
๒. กำหนดจุดมุ่งหมาย : หลังจากได้วินิจฉัยความต้องการของสังคมและผู้เรียนแล้วจะกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ชัดเจน
๓. คัดเลือกเนื้อหาสาระ : จุดมุ่งหมายที่กำหนด แล้วจะช่วยในการเลือกเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย วัย ความสามารถของผู้เรียน โดยเนื้อหาต้องมีความเชื่อถือได้ และสำคัญต่อการเรียนรู้
๔. จัดเนื้อหาสาระ : เนื้อหาสาระที่เลือกได้ ยังต้องจัดโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง และความยากง่ายของเนื้อหา วุฒิภาวะ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน
๕. คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ : ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
๖. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ : ประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดโดยคำนึงถึงเนื้อหาสาระและความต่อเนื่อง
๗. กำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมินผล : ตัดสินใจว่าจะต้องประเมินอะไรเพื่อตรวจสอบผลว่าบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และกำหนดด้วยว่าจะใช้วิธีประเมินผลอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร

สงัด อุทรานันท์ มีความเห็นว่าการพัฒนาหลักสูตรมีความครอบคลุมถึงการร่างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ และการปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วย การใช้หลักสูตรและการประเมินหลักสูตรนั้น เป็นกระบวนการอันหนึ่งของการพัฒนาหลักสูตร โดยได้จัดลำดับขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้ คือ
๑. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
๒. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
๓. การคัดเลือกและจัดเนื้อหาสาระ
๔. การกำหนดมาตรการวัดและการประเมินผล
๕. การนำหลักสูตรไปใช้
๖. การประเมินผลการใช้หลักสูตร
๗. การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้ง ๖ ขั้นดังกล่าว มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
๑. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน คือ ข้อมูลทางด้านความต้องการ ความจำเป็นและปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง ตลอดจนนโยบายทางการศึกษาของรัฐ ข้อมูลทางด้านจิตวิทยา ปรัชญาการศึกษา ความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนวิเคราะห์หลักสูตรเดิม เพื่อพิจารณาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข
๒. การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร คณะกรรมการดำเนินงานจะต้องร่วมกันพิจารณากำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะระบุคุณสมบัติของผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง ๓ ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย โดยกำหนดทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเฉพาะ แต่ละรายวิชา ซึ่งจะเน้นการปฏิบัติมากขึ้น โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนปลูกฝังนิสัยที่ดีงาม เพื่อให้เป็นพลเมืองดี
๓. การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ หลังจากได้กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว ก็ถึงขั้นการเลือกสาระความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เพื่อความสมบูรณ์ให้ได้วิชาความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้ จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลัง แล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้
๔. การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นของการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับครูผู้สอน หลักสูตรจะประสบผลสำเร็จ มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และมีความชำนาญในการใช้หลักสูตร ซึ่งครอบคลุมถึงการเตรียมการสอน การจัดการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในโรงเรียนเพื่อเสริมหลักสูตร การนิเทศการศึกษา และการบริหารการบริการหลักสูตร ฯลฯ นอกจากนี้ในขั้นนี้ยังครอบคลุมถึงการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ก่อนนำไปเผยแพร่ด้วย
๕. การประเมินผลหลักสูตร เป็นการประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรว่าเมื่อได้นำหลักสูตรไปใช้แล้วนั้น ผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ ไปแล้ว มีคุณสมบัติ มีความรู้ความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้ การประเมินหลักสูตรจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณค่าสูงขึ้น อันเป็นผลในการนำหลักสูตรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การประเมินหลักสูตรควรทำให้ครอบคลุมระบบหลักสูตรทั้งหมด และควรจะประเมินให้ต่อเนื่องกัน ดังนั้นการประเมินหลักสูตร จึงประกอบด้วยการประเมินสิ่งต่อไปนี้ คือ
๕.๑ การประเมินเอกสาร หลักสูตร เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร ว่ามีความเหมาะสมดี และถูกต้องตามหลักการพัฒนาหลักสูตรเพียงใด หากมีสิ่งใดบกพร่องก็จะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขก่อนจะได้นำไปประกาศใช้ในโอกาสต่อไป
๕.๒ การประเมินการใช้หลักสูตร เป็นการตรวจสอบว่าหลักสูตร สามารถนำไปใช้ได้ดีในสถานการณ์จริงเพียงใด มีส่วนไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้หลักสูตร โดยมากหากพบข้อบกพร่องในระหว่างการใช้หลักสูตรก็มักได้รับการแก้ไขโดยทันที เพื่อให้การใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๕.๓ การประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตร โดยทั่วไปจะดำเนินการหลังจากได้มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรไปแล้ว การประเมินหลักสูตร ในลักษณะนี้มักจะทำการติดตามความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษาว่าสามารถประสบความสำเร็จในการทำงานเพียงใด
๕.๔ การประเมินระบบหลักสูตร เป็นการประเมินหลักสูตรในลักษณะที่มีความสมบูรณ์และสลับซับซ้อนมาก กล่าวคือ การประเมินระบบหลักสูตรจะมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอื่น ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตรด้วย เช่น ทรัพยากรที่ต้องใช้ ความสัมพันธ์ของระบบหลักสูตร กับระบบบริหาร โรงเรียน ระบบการจัดการเรียนการสอน และระบบการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน เป็นต้น
๖. การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากได้ผ่านกระบวนการประเมินผลหลักสูตรแล้ว ซึ่งเมื่อมีการใช้หลักสูตรไประยะหนึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมและสังคม จนทำให้หลักสูตรขาดความเหมาะสม จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
จากขั้นตอนดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กระบวนการพัฒนาหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมากขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงใหม่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการพัฒนาหลักสูตรจะต้องใช้เวลาเป็นปีขึ้นไป ในการเตรียมการ และการดำเนินงานจำเป็นต้องใช้กำลังคน และงบประมาณมากพอสมควร เพื่อจะให้ได้หลักสูตรที่ดีมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลในการพัฒนาเยาวชนของชาติต่อไป
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ มีดังนี้
๑. ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
๒. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการอสนของครูตามแนวหลักสูตร
๓. ปัญหาการจัดอบรมครู
๔. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
๕. ขาดการประสานงานหน้าที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ
๖. ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
ปัญหาขาดแคลนเอกสาร เนื่องจากขาดงบประมาณและการคมนาคมขนส่งไม่สะดวก
ปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงอย่างมากในการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ ๙ ปัจจัย โดยแบ่งเป็นปัจจัยหลัก ๓ ประการ และปัจจัยสนับสนุน ๖ ประการ ดังแผนภาพที่ ๑










แผนภาพที่ ๑ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (Marsh et al., 1990: 175)
จากแผนภาพที่ ๑ ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มี ๓ ประการ คือ
แรงจูงใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ความสนใจในแนวคิดของนวัตกรรม และการควบคุมการทำงาน และมีปัจจัยสนับสนุน ๖ ประการคือ รูปแบบของกิจกรรม บรรยากาศของโรงเรียน บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เวลา ทรัพยากร รวมทั้งการสนับสนุนจากภายนอก ซึ่งแต่ละปัจจัยสรุปดังนี้
๑. แรงจูงใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ผู้บริหารโรงเรียนและผู้มีส่วนร่วมจะมีอิทธิพลอย่างมากที่จะจูงใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
และเพื่อนร่วมงานให้มีส่วนร่วมในการทำงาน ซึ่งแรงจูงใจเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ ถ้าเริ่มต้นด้วยการจูงใจที่ไม่เป็นที่ยอมรับ เช่น ไม่มีการสนับสนุนด้านเวลา ทรัพยากร ข้อมูล แต่ให้ทำงานใหญ่ หรือถ้าบรรยากาศของโรงเรียนที่ไม่เอื้ออำนวยก็จะเป็นอุปสรรคในการทำงานได้ ดังนั้นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ครูในโรงเรียนจึงเป็นจุดเริ่มต้นในความพอใจที่จะเข้าร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาจะเป็นผู้ซึ่งช่วยกระตุ้นทีมงานให้วางงานประจำโดยใช้การจูงใจด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งต้องใช้เวลาระยะยาวในการพัฒนาทีมงานทั้งหมดของโรงเรียน
๒. ความสนใจในแนวคิดของนวัตกรรม
แนวคิดของนวัตกรรมเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับแรงจูงใจของผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องถ้าครูหรือผู้บริหารไม่สามารถนำเสนอแนวคิดใหม่ที่น่าสนใจครูจะไม่เข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ดังตัวอย่าง ในประเทศอังกฤษผู้บริหารโรงเรียนจะเริ่มต้นโครงการโดยการเชิญบุคคลภายนอก เช่น ผู้อำนวยการทางการศึกษามาร่วมกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
๓. การควบคุมการทำงาน
ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรทำให้ผู้มีส่วนร่วมในทีมงานพัฒนาหลักสูตร
รู้สึกว่าไม่ถูกควบคุม แต่สร้างให้มีความรับผิดชอบต่องานและได้แสดงความเป็นเจ้าของในงาน หากมีการควบคุมมากจากส่วนกลางที่มาจากนักพัฒนาหลักสูตร จะเป็นการเสี่ยงอย่างมากต่อความล้มเหลวในการทำงาน
๔. รูปแบบของกิจกรรม
กิจกรรมของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สามารถจัดได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่
กับปัจจัยด้านเวลา งบประมาณ และวัตถุประสงค์ กิจกรรมจะเน้นที่กระบวนการมากกว่าผลผลิต เช่น เน้นที่การจัดระบบองค์กรที่ดี การสื่อสารที่เหมาะสม ความสามารถของทีมงานที่จะร่วมกันแก้ปัญหา และขวัญกำลังใจของทีมงาน เพราะการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทีมงานทั้งหมดของโรงเรียนหรืออย่างน้อยก็เกี่ยวข้องกับหมวดวิชา



๕. บรรยากาศของโรงเรียน
บรรยากาศของโรงเรียนหรือบรรยากาศขององค์กรเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนโดยดูที่การให้การสนับสนุนของผู้บริหาร การจูงใจครู ความสัมพันธ์ของสังคม Brady (1988) พิจารณาที่ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศขององค์กรและสรุปว่าการสนับสนุนของผู้บริหารเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดในความสำเร็จของกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาซึ่ง Huberman and Miles (1984) เสนอว่า บรรยากาศทางบวกของโรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

๖. บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
จำนวนของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรูปแบบการมีส่วนร่วมมีความสำคัญยิ่ง
ต่อกิจกรรมของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งจากการศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังเช่นที่ Rutherford (1984) เน้นที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารในกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา Glatthorn (1987) กล่าวถึงเรื่องการสนับสนุนและแหล่งทรัพยากรที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ในโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา Leithwood and Montgomery (1982) กล่าวถึงผู้บริหารว่ามีหน้าที่รับผิดชอบและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะองค์กรระหว่างทีมงานและในปี ค.ศ.1986 Leithwood and Montgomery (1986) ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงรูปแบบของผู้บริหารแบบผู้ริเริ่ม และนักแก้ปัญหา จะช่วยสนับสนุนให้กิจกรรมของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาประสบความสำเร็จ รวมทั้ง Campbell (1985: 57) เสนอแนะว่าควรพัฒนาสิ่งต่อไปนี้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการบริหารจัดการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คือ ทักษะเกี่ยวกับหลักสูตร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชา ทักษะการสร้าง การใช้ และประเมินหลักสูตร และ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้แก่ การเป็นผู้นำในการประชุม/อภิปราย การสื่อสาร การประสานงาน การให้คำปรึกษา เสนอแนะเพื่อนร่วมงาน การสอนเพื่อนร่วมงาน การบำรุงรักษาขวัญกำลังใจและลดความวิตกกังวลของเพื่อนร่วมงาน และการจัดการกับความขัดแย้ง
๗. เวลา
กิจกรรมของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ในแต่ละโรงเรียนที่จะสามารถ
ขับเคลื่อนการทำงานของทีมงานและมีการเปลี่ยนแปลงต้องใช้ระยะเวลาที่ยาว เพราะต้องมีการสะท้อนความคิด และช่วงการอภิปรายของสมาชิกตลอดเวลา เช่น ในการทำงานของทีมโรงเรียน River Valley High School ใช้เวลาในการดำเนินการถึง ๓ ปี ก่อนที่จะตัดสินใจนำหลักสูตรไปใช้ในโรงเรียนใหม่ หรือการดำเนินการของโรงเรียน Titahi Bay School และโรงเรียน Green Bay Primary School เริ่มโครงการในปี 1994 ไปเสร็จสิ้นในปี 1996 และจากกรณีศึกษาในประเทศแคนาดา ผู้บริหารพยายามใช้เวลาพบกับกลุ่มในการทำงานระหว่างเวลาการเรียนปกติ แต่กรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาจะใช้เวลาเต็มที่ในช่วงวันหยุดระหว่างปิดภาคฤดูร้อน


๘. ทรัพยากร
Huberman and Miles (1984: 94-95) เสนอแนะว่า ทรัพยากรของการพัฒนา
หลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย เงินบริจาค วัสดุ อุปกรณ์ เช่น เอกสารในการทำกิจกรรม เครื่องมือต่างๆ หลักสูตร ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก การสาธิตและการเยี่ยมเยียนเสนอแนะในการประชุมปฏิบัติการ การช่วยเหลือด้านเวลา เช่น ลดคาบการสอน จัดระบบชั้นเรียนใหม่ การให้เงินช่วยเหลือครู และการช่วยเหลือด้านข้อมูลต่าง ๆ
๙. การสนับสนุนจากภายนอก
หน่วยงาน/องค์กรจากภายนอก เช่น รัฐ จังหวัด หน่วยงานด้านการศึกษาในท้องถิ่น
เป็นแหล่งข้อมูลที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงโรงเรียน Lawton and Chitty (1988) Reid et al. (1988) Campbell (1985) และ Simons (1988) ชี้ให้เห็นว่าผู้อำนวยการศึกษาของรัฐ และหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษาเป็นหน่วยงานที่จะช่วยเพิ่มแรงผลักดันให้โรงเรียน โดยกำหนดนโยบายและสนับสนุนงบประมาณไปให้โรงเรียนและมีการแบ่งสรรทีมงานให้คำปรึกษา อำนวยความสะดวก ในการปฏิบัติตามนโยบาย ดังตัวอย่างในประเทศแคนาดา กระทรวงศึกษาธิการ ของรัฐ Ontario มีนโยบายเน้นให้ทีมของโรงเรียนมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยมีหน้าที่วางแผนด้านหลักสูตรด้วยผู้บริหารโรงเรียน และครู ประสานงานกับหน่วยศึกษานิเทศก์ และนักการศึกษาอื่น ๆ ซึ่งจ้างโดยคณะกรรมการของโรงเรียน
จากการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาข้างต้น สรุปได้ว่าการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษานั้นต้องคำนึงถึง ๓ ปัจจัยหลัก คือ การสร้างแรงจูงใจให้ผู้มีส่วนร่วม การเสนอ นวัตกรรมที่น่าสนใจและการให้ผู้มีส่วนร่วมได้รับผิดชอบและมีความเป็นเจ้าของ ซึ่งจะมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้รูปแบบกิจกรรมต่างๆ การสร้างบรรยากาศของโรงเรียนที่เอื้ออำนวยมีบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกโรงเรียนสนับสนุน มีทรัพยากร/ข้อมูลที่เพียงพอมีการจัดสรรเวลาที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานร่วมกัน รวมทั้งมีการวางแผนที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับ ทักษะการพัฒนาหลักสูตรและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้จะส่งผลให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาประสบผลสำเร็จอย่างมีคุณภาพ

วิธีการการพัฒนาหลักสูตร มี ๕ วิธีการ
๑. การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
๒. การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
๓. การพัฒนาหลักสูตรแบบวิธีการสาธิต
๔. การพัฒนาหลักสูตรวิธีการอย่างมีระบบ
๕. การพัฒนาหลักสูตรโดยวิธีเชิงปฏิบัติการ
ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอน

ก. ระดับของหลักสูตร
- ประถมศึกษา
- มัธยมศึกษา - อุดมศึกษา - อาชีวศึกษา

สถาบัน/โรงเรียน

ข.
ห้องเรียน
โครงสร้างของ
- สาขาวิชา - กลุ่มวิชา
- รายวิชา
ค. - หน่วย












กระบวนการพัฒนาหลักสูตร


คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
คณะครูผู้บริหาร นักเรียน
ผู้ปกครองและองค์การที่เกี่ยวข้อง พัฒนาสื่อการ
รูปแบบหลักสูตร เรียนการสอน
โครงสร้าง องค์ประกอบของหลักสูตร วัสดุหลักสูตร
- จุดมุ่งหมาย, เนื้อหาสาระ การนำไปใช้
- กระบวนการเรียนการสอน การติดตามผล
- การประเมินผล การประเมินหลักสูตร
กลุ่มเป้าหมาย
ปรัชญาการศึกษา, ปรัชญาสังคม ผู้เรียน

จิตวิทยาพัฒนาการ, การเรียนรู้

ธรรมชาติของความรู้

ประวัติศาสตร์, มนุษยศาสตร์
การศึกษา
สังคม เศรษฐกิจ สำรวจ
การเมือง วัฒนธรรม วิเคราะห์ วิจัย

แนวความคิดพื้นฐาน


ระบบพัฒนาหลักสูตร









องค์ประกอบของหลักสูตร



TYLER'S RATIONALE
๑. มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะแสวงหา (Educational Purposes)
๒. มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุถึง
จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ (Educational Experiences)
๓. จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ
(Organization of Educational Experiences)
๔. จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินได้ว่า
บรรลุถึง จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ (Evaluation)

ขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรของ TYLER
(CONCEPTUAL FRAMEWORK FOR CURRICULUM DEVELOPMENT)


จุดมุ่งหมายชั่วคราว จุดมุ่งหมายสุดท้ายการเรียน

การเลือกประสบการณ์

การจัดประสบการณ์การเรียน

ประเมินผล

๙. การจัดองค์ประกอบของหลักสูตร
๑. ขอบข่ายของหลักสูตร (Scope)
๒. การบูรณาการ (Integration) จะต้องเชื่อมโยงเนื้อหาจากสาขาวิชาหนึ่งไปยังเนื้อหา
ของอีกสาขาวิชาหนึ่งได้
๓. การเรียงลำดับขั้นตอน (Sequence) จากง่ายไปหายาก
๔. ความต่อเนื่องกัน (Continuity) จัดโอกาสให้กับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
(ให้เรียนซ้ำบ่อย ๆ)
๕. ความสัมพันธ์เชื่อมโยงและความสมดุล (Articulation and Balance) จัดต้องสัมพันธ์กัน
๑๐. รูปแบบของหลักสูตร
๑๐.๑ หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง
๑. หลักสูตรแบบรายวิชา เก่าแก่ที่สุดและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เชื่อว่าสิ่งที่ทำให้มนุษย์ แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ ก็คือ สติปัญญาและการค้นคว้าหาความรู้ ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและ ผู้เรียน ความรู้ที่ได้แยกเป็นส่วนๆ เน้นที่ความจำ รายวิชาไม่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน นักเรียนเป็นผู้รับรู้ แต่เพียงอย่างเดียว
๒. หลักสูตรแบบสาขาวิชา ปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่ในระดับประถม มัธยมศึกษาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษา เน้นความรู้เฉพาะในสาขาวิชาของตน จะต้องศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของสาขาวิชา ผู้เรียนปรับตัวเข้าหาหลักสูตร สนใจแต่นักเรียนที่เก่ง ไม่สนใจข้อมูลอื่นที่ไม่สามารถจัดเข้าเป็นสาขาวิชาได้
๓. หลักสูตรแบบรวมวิชา เป็นหลักสูตรแบบบูรณาการ รวมหรือผสมผสานรายวิชาที่เกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ ๒ รายวิชาขึ้นไปเข้าเป็นสาขาวิชาเดียว (วิทย์ทั่วไป ประกอบด้วย คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์)
๔. หลักสูตรแบบสัมพันธ์วิชาหรือสหสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กันระหว่างรายวิชานั้น ๆ หลักสูตรนี้ประสบความสำเร็จได้ยาก เพราะครูในชั้นเรียนประถม มักสอนคนเดียว ระดับมัธยม ครูสอนแยกแต่ละวิชา ไม่มีเวลาพอที่จะทำงานเป็นทีมร่วมกับครูอื่นๆ
๑๐.๒ หลักสูตรแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
๑. หลักสูตรแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง เน้นที่ตัวเด็กแทนที่การเน้นเนื้อหาวิชา เป็นการบูรณาการเนื้อหาให้เป็นหน่วยของประสบการณ์หรือปัญหาสังคม
๒. หลักสูตรประสบการณ์ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง แต่ไม่อาจคาดหมายไว้ล่วงหน้าว่าความ สนใจและความต้องการของเด็กจะเป็นเช่นไร
๓. หลักสูตรแบบมนุษยนิยม ปล่อยให้นักเรียนเป็นอิสระเสรี มีความคิดสร้างสรรค์ ให้เรียนตามความสามารถของตัวเอง ไม่ตั้งจุดมุ่งหมาย เน้นคุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ ให้ผู้เรียนได้เปิดเผยตัวเอง ต่างจากไทเลอร์ ซึ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ต้องตั้งจุดมุ่งหมายก่อนเพื่อแสดงพฤติกรรมที่วัดได้

๑๐.๓ รูปแบบที่เน้นปัญหาเป็นศูนย์กลาง เน้นปัญหาการดำรงชีวิต
๑. หลักสูตรแบบเน้นสภาพชีวิต เน้นทางสังคม ชีวิต ความเป็นอยู่ เรียนรู้โดยการแก้ปัญหา ใช้ประสบการณ์ของผู้เรียนในอดีตและในปัจจุบันมาช่วยในการวิเคราะห์ด้านต่างๆ ของชีวิต มีการบูรณาการ เนื้อหาจากหลายสาขาวิชา ข้อบกพร่อง กิจกรรมที่ทำในปัจจุบันจะถือว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญในอนาคตได้หรือไม่ ไม่ได้ให้นักเรียนเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม สนใจแต่สภาพปัจจุบัน
๒. หลักสูตรแกน มีการวางแผนเป็นอย่างดี มีศุนย์กลางอยู่ที่วิชาศึกษาทั่วไป ปรับเปลี่ยนแผนที่วางไว้ได้ตามความเหมาะสม
๓. หลักสูตรเน้นการแก้ปัญหาสังคมและการปฏิรูปสังคม สนใจที่จะเชื่อมโยงหลักสูตรเข้ากับการพัฒนาสังคมทางการเมืองและเศรษฐกิจ
๔. หลักสูตรที่เน้นชุมชนเป็นฐาน
๑๐.๔ หลักสูตรที่เน้นเทคโนโลยี
๑๐.๕ หลักสูตรแบบสมรรถฐาน ทางพยาบาลจะใช้มาก ระบุเจตคติ
๑๑. การประเมินหลักสูตร
๑๑.๑ การประเมินคืออะไร
๑. คือการพิจารณาคุณค่าของสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยมีเกณฑ์ประกอบ เกณฑ์อาจเป็น
คุณสมบัติ คุณลักษณะ ข้อมูล
๒. คือการตรวจสอบการตัดสินใจ คุณค่า คุณภาพ ความสำคัญ
๓. คือการรวบรวมข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ
๑๑.๒ เหตุผลที่ต้องประเมิน
๑. สถาบันได้สนองเจตนารมณ์ของสังคมเต็มที่เพียงไร
๒. ผลผลิตจากสถาบันมีคุณภาพอย่างไร
๓. ค่านิยมทางการศึกษาของคน (ชุมชน) คืออะไร
๔. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรเหมาะสมเพียงไร
๕. การทำงานได้ผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
๖. มีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง
๑๑.๓ การประเมินหลักสูตร คือการหาคำตอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิ์ผลตามที่กำหนดไว้ในความมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่ มากน้อยเพียงใด และอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้หลักสูตรไม่สัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมาย
๑๒. ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตร
๑. ขั้นพัฒนาหลักสูตร ประเมินโครงร่างหลักสูตร
- โครงสร้างหลักสูตร
- ความมุ่งหมายของหลักสูตร
- เนื้อหา
- กิจกรรมการเรียนการสอน
- อุปกรณ์ สื่อการสอน
- การประเมินผลการเรียนการสอน
- บรรยากาศในการเรียน
- สิ่งแวดล้อมในสถาบันการศึกษา
๒. ขั้นการใช้หลักสูตร ประเมินหลักสูตรที่ใช้จริง
- ประเมินในระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร (formative evaluation)
- ประเมินจุดเด่นและจุดด้อยของหลักสูตร
- การจัดการเรียนการสอน
- การบริหารหลักสูตร
๓. ขั้นผลิตผลของหลักสูตร ประเมินติดตามผล
- คุณภาพของบัณฑิต
- การทำงานของบัณฑิต
- ความพึงพอใจและความต้องการของนายจ้าง







รูปแบบของการประเมินหลักสูตร (CIPP MODEL)
ผู้คิด DANIEL N.STUFFLEBEAM
บริบท - ความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรกับปรัชญา กฎหมาย แผนพัฒนา นโยบาย
context - ความเหมาะสมของจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
- ความเหมาะสมของโครงสร้างหลัดสูตร
ปัจจัยนำเข้า - คุณลักษณะของนิสิต
Input - ภาระงานของอาจารย์
- ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบัน
- แหล่งความรู้
กระบวนการ - การใช้หลักสูตร
Process - พฤติกรรมการสอน
- การนำทรัพยากรมาใช้
- การบริหารหลักสูตร
- การปฏิบัติงานในระบบ
ผลผลิต - คุณภาพของบัณฑิต
Product - สมรรถภาพในการทำงาน
- ความพึงพอใจของผู้ใช้ บัณฑิต


๑๓. John Neisbitt (Magatrend) ให้มุมมองในอนาคตไว้ดังนี้
๑. การเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรม
๒. สังคมในอนาคต ต้องการใช้เทคโนโลยีระดับสูงเพื่อให้สอดคล้องกับปฏิสัมพันธ์ของ
มนุษย์ระดับสูง
๓. เศรษฐกิจจะเปลี่ยนจากระดับชาติไปสู่ระดับโลก
๔. การวางแผนจะเปลี่ยนจากการวางแผนระยะสั้นไปสู่การวางแผนระยะยาวและสู่การ
ปฏิบัติ
๕. การบริการและการบริหารจะเปลี่ยนจากศูนย์รวมไปสู่การกระจายอำนาจ
๖. การเน้นการช่วยตนเองแทนการให้หน่วยงานช่วย
๗. ประชาธิปไตยจะเปลี่ยนจากประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนไปเป็นประชาธิปไตยแบบมี
ส่วนร่วม
๘. การจัดองค์การจะเปลี่ยนจากการแบ่งระดับชั้นไปเป็นการสร้างเครือข่าย
๙. เขตความเจริญจะเปลี่ยนจากทางเหนือมาเป็นแถบเอเซียแปซิฟิก
๑๐. จะเปลี่ยนสถานการณ์ที่มีทางเลือกสองทางเป็นหลายทาง
๑๔. การพัฒนาหลักสูตรในอนาคต
๑. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ (เครือข่ายวิชาการ วิชาชีพ)
๒. พัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
- จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาคนต่อเนื่องตลอดชีวิต
๓. รูปแบบหลักสูตรจะหลากหลายมากขึ้น เช่นหลักสูตรการศึกษาภาคพิเศษ หลักสูตร
เฉพาะกิจ หลักสูตรฝึกอบรม
๔. เปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้น
๕. มีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างน้อย ๒ ประเทศ เช่น เวียดนาม เขมร ลาว มลายู
๖. มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีต้องไม่ขัดกับสังคมและ
สิ่งแวดล้อม ต้องไม่ให้เทคโนโลยีเป็นนายเรา
๗. หลักสูตรและการเรียนการสอนจะต้องพัฒนาทักษะในการคิด การศึกษาหาความรู้ด้วย
ตนเอง และความสามารถในการสื่อสาร พัฒนาคนให้คิดว้าง คิดไกล ใฝ่รู้
๘. ให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งเรื่องที่เป็นสากล นานาชาติ และของไทย ต้องรู้เขารู้เรา
๙. พัฒนาหลักสูตร ส่วนกลาง ๖๐ %
ส่วนท้องถิ่น ๔๐ %
๑๐. จัดการเรียนการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
๑๑. จะต้องมีการประกันคุณภาพทางการศึกษาทุกระดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น